5 แนวทางใช้หนังสือกับเด็กๆ

5/5 - (1 vote)

การใช้เวลาร่วมกับลูกอย่างมีคุณภาพ เช่น การเล่านิทาน อ่านหนังสือ ร่วมกับลูกตั้งแต่เล็ก มีการพูดคุยซักถาม เปิดโอกาสให้ลูกได้สื่อสารตอบกลับมา โดยให้การอ่านหนังสือ เล่านิทานเป็นสื่อกลางก็เป็นอีกหนทางหนึ่งกระตุ้นพัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านภาษา

ข้อแนะนำการใช้หนังสือกับเด็ก 

1. ช่วงเวลาการใช้หนังสือร่วมกัน

สิ่งสำคัญในการใช้หนังสือกับเด็กก็คือ เวลาที่พ่อแม่อ่านให้ฟัง ในเด็กเล็กๆ ไม่สามารถรู้จักหรือใช้หนังสือได้เอง ผู้ใหญ่หรือคนใกล้ชิดอ่านให้ฟัง เปิดภาพให้ดู พูดคุยกับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้โต้ตอบ แสดงความคิดเห็น โดยเลือกในช่วงเวลาเหมาะสม เช่น ใช้เวลาก่อนเข้านอนสัก 10-15 นาที 

2. เนื้อหาของหนังสือ

หนังสือที่ดีควรมีความกลมกลืนของเรื่อง ทั้งความรู้ และความอบอุ่นใจเวลาที่อ่าน เพราะเนื้อหาของหนังสือมีผลต่อตัวเด็กได้ ถ้ามีเนื้อเรื่องที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เด็กประทับใจในสิ่งเหล่านั้นด้วย ทั้งนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ใหญ่เองคงไม่สามารถทำให้เด็กได้เจอแต่หนังสือที่ดีได้ทั้งหมด เมื่อโตขึ้นเด็กคงต้องพบเจอกับหนังสือที่มีเนื้อหาที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ควบคู่กัน ดังนั้น พ่อแม่ควรพูดคุยแลกเปลี่ยนกับลูก ให้เด็กค่อยๆ ซึมซับ ประทับใจกับด้วยหนังสือที่ดี พร้อมๆ กับปลูกฝังให้รู้จักคิดและเลือกหนังสือที่มีคุณค่าได้ด้วยตัวเองเมื่อโตขึ้น

3. เปิดโอกาสให้เด็กรู้จักหนังสือที่หลากหลาย

หนังสือมีหลากหลาย เช่น หนังสือบทกลอน หนังสือของเล่น หนังสือป๊อบอัพ หนังสือสอนตัวอักษร หนังสือสอนตัวเลข จนกระทั่งหนังสือที่เริ่มซับซ้อนขึ้นเป็นหนังสือภาพ สำหรับเด็กเล็กวัย 1 – 3 ขวบ ให้เรียนรู้ตามธรรมชาติ เหมาะกับวัย ซึ่งเริ่มจากหนังสือภาพก่อนก็ได้ โดยที่ไม่ปฏิเสธหนังสือประเภทอื่นไปอย่างสิ้นเชิง 

4. หนังสือของผู้ใหญ่ก็ช่วยให้เด็กเรียนรู้

พ่อแม่ที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงหนังสือสำหรับเด็ก สามารถแนะนำหนังสืออื่นๆ ให้ลูกรู้จักได้ เช่น เอาหนังสือนิตยสารมาชี้รูปให้ลูกดู ดูซิ รูปใคร หน้าเหมือนใคร เป็นต้น ไม่ควรมองว่าเด็กต้องใช้หนังสือเด็ก หรือหนังสือของผู้ใหญ่เด็กห้ามจับโดยเด็ดขาด แต่เด็กควรได้มีโอกาสเรียนรู้จากความหลากหลาย โดยที่พ่อแม่นำเสนอสิ่งที่เหมาะสม และดูแลอย่างใกล้ชิด  

5. เล่านิทาน แล้วอ่านหนังสือ 

หากไม่มีหนังสือ หรือมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย สามารถใช้นิทาน เรื่องจากจินตนาการ หรือเรื่องสมมติที่แต่งขึ้นจากชีวิตประจำวันเป็นสื่อได้ โดยดูจากความสนใจของเด็ก เช่น แปลงเรื่องจากที่คุณพ่อคุณแม่เคยอ่าน เคยดูทีวีมา ทำให้สนุกสนานเล่าให้เด็กๆ ฟัง ทั้งนี้ เด็กสามารถเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ไม่จำกัดว่าต้องเป็นหนังสือเพียงอย่างเดียว ช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ หรือคุณย่าคุณยาย เล่านิทานให้ฟัง ซึ่งเรียกว่าวรรณกรรมปากเปล่า ก็เป็นการสร้างความประทับใจเบื้องต้น และกระตุ้นให้เด็กอยากอ่านหนังสือได้  

เคล็ดลับการเลือกหนังสือให้ลูก 

อ่านก่อนเลือกหนังสือให้ลูก : หนังสือทุกเล่มที่จะนำเสนอกับเด็ก พ่อแม่ควรจะอ่านเพื่อให้รู้ว่าเป็นเรื่องที่ดี หรือไม่ดี อย่างไร เหมาะสมหรือไม่ หนังสือเด็กที่ดีไม่ใช่แค่เด็กอ่านแล้วสนุก ผู้ใหญ่อ่านก็สนุกด้วย 

หนังสือดีไม่จำเป็นต้องราคาแพง : การเลือกหนังสือไม่ควรพิจารณาเพียงว่า หนังสือดีต้องมีราคาแพง หรือรูปเล่มสวยงามเพียงอย่างเดียวสิ่งที่ควรดูคือ มีเนื้อเรื่องดี กลมกลืน ในส่วนของหนังสือภาพสำหรับเด็ก ภาพควรจะดี มีความกลมกลืนกับเรื่อง ช่วยเสริมบางอย่างที่ตัวหนังสือไม่ได้บอก เนื้อหากับคำต้องเสริมซึ่งกันและกัน ไม่ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป เพราะหากภาพสามารถบอกเรื่องราวได้เป็นอย่างดีแล้ว อาจไม่ต้องมีคำบรรยายก็ได้ 

ฐิติพันธุ์ชมสว่างเป็นผู้ฝึกสอน CrossFit อายุ 40 ปีจากประเทศจีนฮ่องกง เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ 15 ปีก่อน เธอใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ศูนย์ออกกำลังกายเพื่อช่วยให้ผู้อื่นมีสุขภาพดีและมีรูปร่าง เธอแต่งงานแล้วและมีลูกชายคนแรกและใช้เวลาว่างของเธอในการฝึกซ้อมมาราธอน
ฐิติพรรณ จอมสว่าง