PREGNANCY
นมแม่
น้ำนมแม่มาจากไหน?
น้ำนมแม่ถูกสร้างขึ้นตอนไหน? สร้างตั้งแต่เมื่อไหร่ ? ทำไมบางคนถึงไม่มีน้ำนมให้ลูก? ถ้าเรารู้ขั้นตอนการผลิตน้ำนมแม่ในตัวคุณแม่เอง เราจะไขปริศนาเรื่องนมแม่ได้ แล้วจะรู้ว่า ให้นมแม่ไม่ยากอย่างที่คิด
เริ่มต้นการผลิต
น้ำนมแม่นับเป็นอาหารมหัศจรรย์สำหรับลูกน้อย ไม่มีอาหารใดสำหรับลูกวัยแรกเกิด – 1 ปีแรก จะมีประโยชน์เท่ากับน้ำนมแม่ ซึ่งกระบวนการผลิตน้ำนมนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
ช่วงที่1 (Lactogensis І )
เริ่มตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 16-22 สัปดาห์ ร่างกายเริ่มผลิตหัวน้ำนมแต่ยังมีปริมาณเพียงนิดเดียวเท่านั้น (ในคุณแม่บางท่านเมื่อครรภ์แก่ อาจจะมีน้ำนมไหลออกมาบ้าง ก็เกิดจากสาเหตุนี้นั่นเอง)
ช่วงที่2 (Lactogensis П )
ประมาณ 30-40 ชั่วโมงหลังจากคลอดลูกน้อยเรียบร้อยแล้ว ฮอร์โมนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำนมจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าน้ำนมมาแล้ว เพราะยังไม่มีอาการคัด จนกระทั่ง 50-73 ชั่วโมง (2-3 วัน) หลังคลอด จึงค่อยรู้สึกว่ามีน้ำนมมา
ในกระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกายทั้ง 2 ช่วงนี้ ถึงแม้ว่าลูกจะไม่ได้ดูดนม ร่างกายจะทำการผลิตน้ำนมโดยธรรมชาติ เพราะเป็นกระบวนการผลิตน้ำนมที่เกิดจากการทำงานของฮอร์โมน
ช่วงที่3 (Lactogensis Ш )
ช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญที่สุด ว่าคุณแม่จะมีน้ำนมให้ลูกกินไปตลอดหรือไม่ เพราะกระบวนการผลิตน้ำนมไม่ได้ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนล้วนๆ อีกต่อไปแล้ว น้ำนมแม่จะผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง ก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากเต้านมแม่อย่างสม่ำเสมอ ก็คือ การให้ลูกดูดนม หรือการปั๊มออกมานั้นเอง ซึ่งมีหลักการทำงานดังนี้
- ในน้ำนมแม่ ประกอบด้วยโปรตีนเวย์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Feedback Inhibitor of Lactation (FIL) เมื่อน้ำนมถูกผลิตขึ้นมาและสะสมจนเต็มเต้านม FIL มีมาก เป็นผลให้การผลิตน้ำนมน้อย และช้าลง ถ้ามีการนำน้ำนมออกจากเต้า จนเต้านมว่าง FIL น้อยลง ก็จะทำให้กลไกการผลิตน้ำนมทำงานเร็วขึ้น และมากขึ้น
- ฮอร์โมนอีกตัวที่สำคัญในกระบวนการผลิตน้ำนม คือ ฮอร์โมนโปรแล็คติน ที่ผนังของเซลล์ผลิตน้ำนมจะมีตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คติน ซึ่งจะส่งผ่านโปรแล็คตินเข้าสู่กระแสเลือดไปยังเซลล์ผลิตน้ำนม และทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างน้ำนม และถ้าในต่อมน้ำนมมีน้ำนมอยู่เต็ม ผนังของเซลล์ผลิตน้ำนมนี้จะขยายทำให้ตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คตินเข้ามาไม่ได้ จึงทำให้การผลิตน้ำนมลดลง ถ้ามีการนำน้ำนมอกไป ตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คตินจะกลับเข้าสู่สภาพเดิม ทำการส่งผ่านฮอร์โมนโปรแล็คตินต่อ กระบวนการผลิตน้ำนมก็กลับมาทำงานอีกครั้ง
- ด้วยกระบวนการทำงานที่กล่าวมา ทำให้เรารู้ว่า ถ้าน้ำนมออกจากร่างกายได้มากและบ่อย ในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังคลอด จะทำให้ปริมาณตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คตินเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ปริมาณโปรแล็คตินผ่านเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำนมได้มาขึ้นนั่นเอง
จากขั้นตอนการผลิตน้ำนมที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า การผลิตน้ำนมจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกมาจากเต้านมอย่างสม่ำเสมอ และเต้านมจะหยุดการผลิตน้ำนมภายในไม่กี่วัน ถ้าไม่มีการนำน้ำนมออกจากเต้าอย่างสม่ำเสมอ ดังที่เราจะได้ยินอย่างสม่ำเสมอว่า จะต้องให้ลูกดูดกระตุ้นนมแม่ให้บ่อยที่สุด และดูดให้ถูกวิธี หรือต้องหมั่นปั๊มออก (ด้วยเครื่องปั๊มมีคุณภาพ) ตั้งแต่ในช่วงแรกคลอด ไม่เช่นนั้นลูกน้อยของคุณก็จะไม่ได้รับอาหารมหัศจรรย์จากเต้านมคุณเลย
ปัญหาหลังคลอด
- หลังคลอดใหม่ๆ คุณแม่ยังคงอ่อนเพลียจากการคลอด และอาการเจ็บแผล เมื่อลูกดูดนม ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บเต้ามากๆ ได้ ถึงแม้จะใช้เครื่องปั้มก็รู้สึกเจ็บเช่นกัน ซึ่งอาการนี้จะอยู่กับคุณเพียงแป๊บเดียว เรียกว่าเป็นอีกบททดสอบของการเป็นแม่ก็ว่าได้ เมื่อร่างกายปรับตัวได้ ก็จะไม่เจ็บอีกต่อไป
- คุณแม่บางท่านคิดว่าน้ำนมไม่ออก น้ำนมน้อย ลูกคงไม่อิ่ม จึงชงนมผสมให้ลูกกิน คิดว่ารอให้เต้านมคัดก่อน แต่พอลูกได้รับนมผสม อาจไม่กลับมาดูดหัวนมแม่อีก จึงทำให้น้ำนมแม่หายไปจริงๆ
- ปัญหาการให้นมแม่นั้น ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่เข้าใจของการให้นมแม่ บวกกับความท้อใจหลังคลอด ดังนั้นถ้าคุณแม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ การให้นมแม่ ก็ไม่ใช่ปัญหาของคุณอีกต่อไป
อย่าลืมแชร์เนื้อหาดีๆนะคะ ^_^
- KolaxCream: ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเส้นเลือดขอด - กรกฎาคม 31, 2024
- Melavita: แคปซูลปกป้องผิว - กรกฎาคม 31, 2024
- Hanoxol: แคปซูลสำหรับโรคริดสีดวงทวาร - กรกฎาคม 31, 2024
Like!! Great article post.Really thank you! Really Cool.