5 อาการไอของลูกน้อยที่คุณแม่ควรรู้
อาการไอในเด็กวัยเตาะแตะ เป็นอาการที่พบได้บ่อย หากคุณแม่สังเกตอาการดีๆ จะรู้ได้ถึงสาเหตุของอาการไอในแต่ละแบบ เพื่อให้คุณแม่รู้ทัน ดูแลอาการไอได้เองโดยเบื้องต้นมาดูข้อมูลต่อไปนี้ค่ะ
5 อาการไอแบบต่างๆ
1. ไอจากไข้หวัด เกิดหลังอาการหวัด มาจากการติดเชื้อไวรัส ถ้าลูกเป็นหวัด อาจทำให้มีลูกมีไข้ น้ำมูกไหล กระตุ้นให้เกิดอาการไอ ระคายคอได้ ส่วนใหญ่เมื่ออาการหวัดของลูกมักหายไปเอง (ภายใน 2-3 สัปดาห์) อาการไอก็จะหายไปด้วยค่ะ
2. ไอมีเสมหะ มักจะมีเสมหะไหลลงคอหรือมีอาการอักเสบที่คอร่วมด้วย ถ้าคออักเสบมากก็ยิ่งกระตุ้นให้ไอได้ง่าย ควรพาลูกไปตรวจร่างกาย เช็กว่าเกิดจากอาการอักเสบเป็นไซนัสหรือเป็นอาการไอที่เกิดจากภูมิแพ้ หอบหืดค่ะ
3. ไอแห้งๆ เป็นอาการไอที่ไม่มีเสมหะปนอยู่ด้วย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
4. ไอเรื้อรัง ไอนานกว่า 3 สัปดาห์ มีหลายเหตุผล เช่น เป็นโรคหอบหืด จะไอติดต่อเป็นชุดๆ หรือเกิดจากหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือสิ่งกระตุ้น
5.ไอระคายคอ อาจเกิดขึ้นได้จากความซุกซน นึกสนุก ทำเสียงเสียงดังๆ ตะโกนเก่งๆ ของเจ้าตัวเล็ก ก็มีสิทธิ์ทำให้เกิดอาการไอ ระคายคอได้ง่ายๆ เช่นกันนะคะ
การดูแล บรรเทาอาการไอ
– ดื่มน้ำบ่อยๆ ควรเป็นน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นจะช่วยให้ชุ่มคอ หรือจิบสูตรสมุนไพรในครัว ใช้น้ำมะนาวมาผสมกับน้ำผึ้ง
– เลี่ยงสถานที่ที่มีคนอยู่เยอะหรือที่ที่มีมลพิษ เช่น ฝุ่น เพราะมีโอกาสที่จะรับเชื้อโรค หรือกระตุ้นให้เกิดอาการไอได้ง่าย
– อาหารประเภทของทอด ของมัน หรือของเย็น น้ำแข็งหรือน้ำเย็นที่ถูกใจลูก ระยะนี้ควรงดไว้ก่อนจะดีกว่า
– ถ้านอนห้องแอร์ ควรสวมใส่เสื้อผ้าหรือใช้ผ้าห่มให้ความอบอุ่นกับร่างกาย ถ้าเปิดพัดลม ควรส่ายไปมาเพื่อไม่ให้อากาศเย็นเกินไป จะยิ่งกระตุ้นให้หลอดลมหดตัวทำให้มีอาการไอมากขึ้น
ก่อนเลือกใช้ยา กลุ่มยาแต่ละประเภทมีสรรพคุณ ประโยชน์เป็นเช่นไร ใช้ให้เหมาะกับอาการไอแต่ละแบบค่ะ ทั้งนี้ควรใช้ยาตามคำแนะนำของคุณหมอจะดีที่สุดค่ะ
– ยาขับเสมหะ มักใช้ผสมอยู่ในยาแก้ไอ ออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งสารน้ำในทางเดินหายใจ ทำให้ความหนืดของเสมหะลดลงและถูกขับออกได้ง่ายขึ้น แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องและอาเจียนได้ ไม่แนะนำค่ะ
– ยาระงับหรือกดอาการไอ ทำให้หยุดไอหรือไอน้อยลง เพราะตัวยาจะออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการไอที่สมอง แต่ไม่ช่วยรักษาโรค อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม
– ยาขยายหลอดลม ใช้ในกรณีที่การหายใจลำบาก หรือไอจากภาวะ หอบหืด แต่อาจมีผลข้างเคียงต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ถ้าผู้ป่วยเป็นหวัดแล้วไอเพราะน้ำมูกไหลลงคอ
- KolaxCream: ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเส้นเลือดขอด - กรกฎาคม 31, 2024
- Melavita: แคปซูลปกป้องผิว - กรกฎาคม 31, 2024
- Hanoxol: แคปซูลสำหรับโรคริดสีดวงทวาร - กรกฎาคม 31, 2024